เมนู

บาลีนิทเทสวาร


[278] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น.
[279] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.
[280] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
จิต มีในสมัยนั้น.
[281] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉา-
สังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.
[282] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
วิจาร มีในสมัยนั้น.
[283] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีในสมัยนั้น.
[284] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น.
[285] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา
มีในสมัยนั้น.
[286] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ
หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง
ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ มิจฉาวายามะ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[287] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[288] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือ
มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[289] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.
[290] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการสืบเนื่อง
กันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต
ของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[291] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น
เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ
ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ
เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.
[292] มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความ
ดำริผิด ในสมัยนั้น อันใด ที่ชื่อว่า มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.
[293] มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามผิด
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น.
[294] มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ
มีในสมัยนั้น.
[295] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ
หมั่น ความก้าวหน้าไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง
ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ มิจฉาวายามะ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.
[296] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ
มีในสมัยนั้น.
[297] อหิริกพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่
ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
อหิริกพละ มีในสมัยนั้น.
[298] อโนตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา
ที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า อโนตตัปปพละมีในสมัยนั้น.
[299] โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก
ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
โลภะมีในสมัยนั้น.
[300] โมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ
ไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความ
ไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้
ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความ
ลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย

คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า โมหะ มีในสมัยนั้น.
[301] อภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด
ความกำหนัดนัก ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
อภิชฌา มีในสมัยนั้น.
[302] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ ความเป็นไปข้างทิฏฐิ ป่าช้าคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น
เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์ คือทิฏฐิ ความ
ยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.
[303] อหิริกะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอายกิริยาที่ไม่
ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
อหิริกะ มีในสมัยนั้น.
[304] อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น.
[305] สมณะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ
มีในสมัยนั้น.
[306] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประดับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.
[307] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น.
[308] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.
[309] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 5
ฌานมีองค์ 5 มรรคมีองค์ 4 พละ 4 เหตุ 2 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธรรมายตนะ 1
ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.
[310] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ
สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ
อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

อรรถกถาแสดงนิทเทสวาร


พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิตในนิทเทสวารก่อน.
สองบทนี้ที่ตรัสว่า สณฺฐิติ (ความดำรงอยู่) อวฏฺฐิติ (ความมั่น
อยู่) เป็นคำไวพจน์ของบท ฐิติ (ความตั้งอยู่) นั่นแหละ ส่วนคำใดที่กล่าวไว้
ในนิทเทสแห่งกุศลว่า ชื่อว่า อวฏฺฐิติ (ความมั่นอยู่) เพราะอรรถว่า หยั่งลง
คือเข้าไปสู่อารมณ์แล้วตั้งอยู่ ดังนี้ คำนั้นไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะว่า
ในอกุศล เอกัคคตาแห่งจิตมีกำลังทราม เพราะฉะนั้น สองบทว่า (สณฺฐิติ
และอวฏฐิติ)
นี้ ข้าพเจ้าแสดงไว้ในบทหลังตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.
ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาโร (ความไม่ส่ายไปแห่งจิต) เพราะเป็น
สภาพตรงกันข้ามกับความส่ายไป ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉา
เพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ จึงไม่ได้อรรถะแม้เช่นนี้ แต่ในสหชาต-
ธรรม จิตชื่อว่า อวิสาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ส่ายไป. ที่ชื่อว่า อวิกเขปะ